ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรหัสวิชา ง 30243 ชื่อวิชา การปลูกไม้ดอกประดับน้ำหนัก 2 หน่วย จำนวนชั่วโมงเต็ม 80 ชั่วโมง จำนวนชั่วโมงต่อ/สัปดาห์ 2 ชั่วโมง
ผู้สอน นายประเทือง ใบเนียม
1. เข้าใจความมุ่งหมายของการเรียนวิชา ง 30243 การปลูกไม้ดอกประดับ
2. เข้าใจความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของไม้ดอกประดับ
3. จำแนกประเภทของไม้ดอกประดับได้
4. บอกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอกประดับได้
5. อธิบายลักษณะพันธุ์ของไม้ดอกประดับได้
6. สามารถขยายพันธุ์ไม้ดอกประดับได้
7. มีทักษะเกี่ยวกับการเตรียมดินและอุปกรณ์ที่ใช้ปลูกไม้ดอกประดับ
8. เข้าใจและมีทักษะเกี่ยวกับการปลูกและดูแลรักษา ไม้ดอกประดับ
9. จัดเตรียมไม้ดอกประดับให้มีคุณภาพเพื่อการส่งจำหน่ายได้
10. คำนวณค่าใช้จ่าย กำหนดราคาขายและ การจัดจำหน่าย ไม้ดอกประดับได้
11. จดบันทึกการปฏิบัติงานการปลูกไม้ดอกประดับได้
12. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายการปลูกไม้ดอกประดับได้
13. ประเมินผลการปลูกไม้ดอกประดับได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
รหัสวิชา ง 30245 ชื่อวิชา การผลิตพันธุ์ไม้ น้ำหนัก 2 หน่วย จำนวนชั่วโมงเต็ม 80 ชั่วโมง จำนวนชั่วโมงต่อ/สัปดาห์ 2 ชั่วโมง
ผู้สอน นายประเทือง ใบเนียม
1. เข้าใจความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของการขยายพันธุ์พืช
2. เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ ในการขยายพันธุ์พืชได้เหมาะสม
3. มีทักษะในการขยายพันธุ์ได้เหมาะสมกับชนิดของพืช
4. สำรวจปัจจัยการผลิตและภาวการณ์ตลาดพันธุ์ไม้ได้
5. วางแผนการผลิตพันธุ์ไม้ได้
6. เลือกผลิตพันธุ์ไม้โดยวิธีการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศอย่างน้อย 3 วิธี
7. สามารถอนุบาลพันธุ์ไม้ได้
8. ปฏิบัติการปลูกพืชในภาชนะพร้อมกับการดูแลรักษาได้
9. คำนวณค่าใช้จ่าย กำหนดราคาขายและจัดจำหน่ายพันธุ์ไม้ได้
10. มีความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ไม้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
วิชา ง 40242 การปลูกผัก ช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 1 หน่วยการเรียน
ผู้สอน นายประเทือง ใบเนียม
1. บอกความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของการปลูกผักกับการดำรงชีวิตได้
2. บอกแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพื่อการปลูกผักได้
3. จำแนกประเภทของผักได้
4. วางแผนปลูกผักให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นได้
5. จัดเตรียมเครื่องมือ ใช้และดูแลรักษาเครื่องมือเกษตรเพื่อการปลูกผักได้
6. ปฏิบัติการเตรียมดินปลูกผักและปลูกผักได้อย่างน้อย 2 ชนิด
7. สามารถขยายพันธุ์ผักได้
8. ปฏิบัติการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูผักได้
9. จดบันทึกการปฏิบัติงานการปลูกผักได้
10. สามารถคำนวณค่าใช้จ่าย กำหนดราคาขายและจัดจำหน่ายผักได้
11. จัดทำบัญชีรายรับ – จ่ายและประเมินผลการปลูกผักได้
กิจกรรมเสนอแนะ/ ภาระงาน
1. วางแผน สำรวจตลาด เขียนโครงการปลูกผัก
2. ค้นคว้าทำรายงานเกี่ยวกับผักที่ปลูก
3. ปลูกผัก 1-2 ชนิด ดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวจำหน่าย
4. จดบันทึกการปฏิบัติงาน สรุปผลรายรับรายจ่าย
5. จดบันทึกบทเรียนลงสมุด ทำแบบฝึกหัด
6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทำอุปกรณ์เกษตรต่าง ๆ
7. สอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
วิชา ง 40105 ‘งานเกษตร ช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 1 หน่วยการเรียน
ผู้สอน นายประเทือง ใบเนียม
1. เข้าใจความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของงานเกษตรกับการดำรงชีวิตได้
2. เข้าใจวิธีการและสามารถผลิตพืชผักได้
3. เข้าใจวิธีการและสามารถผลิตพืชไร่-นาได้
4. เข้าใจวิธีการและสามารถผลิตพืชสมุนไพรได้
5. เข้าใจวิธีการและสามารถผลิตไม้ดอกไม้ประดับได้
6. เข้าใจวิธีการและสามารถผลิตไม้ผลไม้ยืนต้นได้
7. เข้าใจวิธีการและสามารถขยายพันธุ์พืชโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพได้
8. เข้าใจวิธีการและสามารถผลิตสัตว์เศรษฐกิจเชิงระบบได้
9. เข้าใจวิธีการและสามารถนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ได้
10. เข้าใจวิธีการและสามารถประยุกต์การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมาใช้
ในชีวิตประจำวันได้
กิจกรรมเสนอแนะ/ ภาระงาน
1. วางแผน สำรวจตลาด เขียนโครงการเกษตรที่นักเรียนถนัด หรือสนใจ
2. ค้นคว้าทำรายงานเกี่ยวกับโครงการที่เลือก
3. ปฎิบัติ ดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวจำหน่าย
4. จดบันทึกการปฏิบัติงาน สรุปผลรายรับรายจ่าย
5. จดบันทึกบทเรียนลงสมุด และทำแบบฝึกหัด
6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทำอุปกรณ์เกษตรต่าง ๆ
7. สอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
8. สำรวจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในท้องถิ่น
ประเทือง ใบเนียม
วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
กิจกรรมที่ทำในรอบปี
กิจกรรมลูกเสือ ตอน "เสียงนกหวีด"
@ สัญญาณนกหวีด @เมื่อลูกเสืออยู่รวมกันในกรณีพิเศษหลายๆกอง หรืออยู่ปะปนกับประชาชน หรือเมื่อไปเดิน ทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมแต่ลำพัง หน่วยลูกเสือต่าง ๆ ที่มาร่วมกันหรือกองลูกเสืออาจจัดให้ใช้ สัญญาณนกหวีดก็ได้ ในการนี้ให้ใช้สัญญาณนกหวีดของลูกเสือตามที่ระบุไว้ในคู่มือสัญญาณนกหวีด ของลูกเสือ สำหรับการฝึกประจำวันก็ดี ในโอกาสที่อยู่ห่างไกลจากลูกเสือก็ดี ผู้บังคับบัญชาลูกเสืออาจ ใช้สัญญาณนกหวีดในการบังคับคับแถวลูกเสือดังนี้1) หวีดยาว 1 ครั้ง ( ---- ) ถ้าเคลื่อนที่อยู่ ให้หยุด ถ้าหยุดอยู่ให้ถือว่าเป็นสัญญาาณเตือน,เตรียมตัว หรือคอยฟังคำสั่ง2) หวีดยาว 2 ครั้ง (---- ---- ) เดินต่อไป,เคลื่อนที่ต่อไป,ทำงานต่อไป3) หวีดสั้น 1 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง สลับกันไป ( _ ---- _ ---- ) เกิดเหตุร้าย เรื่องฉุกเฉิน4) หวีดสั้น 3 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง ติดต่อกันไป ( _ _ _ ---- _ _ _ ----) เรียกนายหมู่มารับคำสั่ง5) หวีดสั้นติดกันหลายๆครั้ง ( _ _ _ _ _ _ ) ประชุม,รวม6) หวีดยาว 3 ครั้ง หวีดสั้น 1 ครั้ง ( --- --- --- _ ) หมายเหตุ!! เมื่อจะใช้สัญญาณที่ 2 , 3 , 4 , 5 ให้ใช้สัญญาณ 1 ก่อนทุกครั้ง
http://my.dek-d.com/Anarya/diary/?day=2007-06-27
http://my.dek-d.com/Anarya/diary/?day=2007-06-27
ข้อสอบวิชา 1065703 การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ (ผ.ศ.สมคิด ดวงจักร์)
1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
ตอบ ในหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ คือ โรงเรียนสายธรรมจันทร์ มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการทำงานเพื่อให้งานมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลเบื้องต้น ของบุคลากร และนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยยึดหลักการบริหารแบบ ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School base management) ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการiสารสนเทศของโรงเรียน ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลของบุคลากรทุกคนให้เป็นปัจจุบัน โดยขอความร่วมมือจากครูประจำชั้นรวบรวม คัดกรองให้ถูกต้อง ก่อนนำข้อมูลมาจัดระบบสารสนเทศ และสามารถประมวลผลตามที่ต้องการได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งแสดงเป็นกรอบความคิดได้ ดังนี้
ตอบ ในหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ คือ โรงเรียนสายธรรมจันทร์ มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการทำงานเพื่อให้งานมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลเบื้องต้น ของบุคลากร และนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยยึดหลักการบริหารแบบ ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School base management) ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการiสารสนเทศของโรงเรียน ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลของบุคลากรทุกคนให้เป็นปัจจุบัน โดยขอความร่วมมือจากครูประจำชั้นรวบรวม คัดกรองให้ถูกต้อง ก่อนนำข้อมูลมาจัดระบบสารสนเทศ และสามารถประมวลผลตามที่ต้องการได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งแสดงเป็นกรอบความคิดได้ ดังนี้

จากกรอบความคิดดังกล่าวจะเห็นว่าระบบสารสนเทศของโรงเรียนจะเป็นส่วนสำคัญในการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมาก ปัจจุบันโรงเรียนมีบุคลากรทั้งสิ้น 2,000 คนเศษ แต่มีเจ้าหน้าที่ทำงานสารสนเทศประมาณ 5 คน ที่ทำหน้าที่กรอกข้อมูล และจัดระบบสารสนเทศ ตรวจสอบติดตามและรายงานผลแก่ผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูล ร่วมกับการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการบริหารจัดการ รวมทั้งระบบบริหารทั้ง 4 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายบริหารวิชาการ ได้แก่ งานด้านทะเบียน วัดผล การเทียบโอนหน่วยกิต และการบริหารหลักสูตร เป็นต้น
2. ฝ่ายบริหารงบประมาณ ได้แก่ งานด้านทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการศึกษา เช่น การเงิน พัสดุ ภาษี
3. ฝ่ายบริหารบุคคล ได้แก่ การรวบรวมประวัติครู นักการภารโรง เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน เป็นต้น
4. ฝ่ายบริหารทั่วไป ได้แก่ งานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนความเป็นอยู่ของบุคลากรในโรงเรียน เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง เครื่องอุปโภค บริโภค เป็นต้น
ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นล้วนปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องอาศัยข้อมูลจากระบบสารสนเทศ ในการวางแผน จัดการ กำกับติดตาม และประเมินผล ตลอดจนการเชื่อมต่อข้อมูลซึ่งกันและกันเพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ถึงแม้จะมีประโยชน์หลายประการดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันยังช่วยประหยัดกระดาษและหมึกพิมพ์ในการทำเอกสาร แต่ผลเสียก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน เป็นต้นว่า ถ้าในกรณีไฟฟ้าดับ การเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ได้ หรือเครื่องตัวแม่(Saver) ถูกเจาะข้อมูลลับหรือจำเป็นบางอย่างเกิดการสูญเสีย ไวรัสเข้าทำให้การทำงานล่าช้า ข้อมูลถูกทำลาย ก็จะทำให้งานง่าย ๆ กลายเป็นงานยากไปเลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศควรมีความรอบคอบ หมั่นตรวจสอบและต้องไม่ประมาท ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลอาจเกิดการผิดพลาดเนื่องจากการใส่ข้อมูล หรือการสั่งการผิดก็จะผิดพลาดทั้งระบบ เพราะฉะนั้นไม่ควรจะเชื่อคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ควรตรวจสอบเองบ้างจะแก้ปัญหาได้ดีที่สุด
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ เห็นด้วยกับแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2554) ของรัฐบาลไทย เพราะจากการวิเคราะห์แผนแม่บทฉบับนี้จะพบว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกิจการต่าง ๆ มีผลกระทบเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น การโจรกรรมข้อมูล การดัดแปลงหรือปลอมแปลงข้อมูล การแพร่หนอนและไวรัสคอมพิวเตอร์ การบุกรุกและโจมตีระบบเครือข่าย ซึ่งสร้างความความเสียหายมูลค่ามหาศาลเนื่องจากความสำคัญของข้อมูล มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของบุคคล/องค์กร/ประเทศ
ปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการลดความเสี่ยงต่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้แก่ การมีนโยบาย การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนผู้ใช้งานระบบและเครือข่ายทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดขอบเขตหรือข้อกำหนดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายให้กับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ดังนั้นกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในฐานะที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐที่รับผิดชอบทางด้านนโยบายและแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ จึงควรมีการจัดทำนโยบาย แผนแม่บทการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย (ICT Security) สำหรับประเทศไทย เพื่อเป็นกรอบ แนวทางให้องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนผู้ใช้ระบบทั่วไป นำไปบังคับใช้ เพื่อให้ข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของประเทศมีความมั่นคงและปลอดภัยโดยรวม วัตถุประสงค์ ในการจัดทำแผนแม่บท เพื่อสำรวจแนวทางการจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีแห่งชาติ National ICT Security Plan Best Practices จากประเทศในต่างประเทศชั้นนำ เพื่อสำรวจและวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบันของประเทศไทยด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อกำหนดกรอบนโยบาย แนวทางดำเนินการ และมาตรการเพื่อการบริหารจัดการ ICT Security ของประเทศ และ เพื่อจัดทำแนวทางบริหารจัดการดำเนินการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีของประเทศ เพื่อก่อให้เกิดมีแผนแม่บท ICT Security แห่งชาติ เพื่อให้ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัย ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและสังคมมีความปลอดภัยตามมาตรฐานที่ได้กำหนด และอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายต้องมีการจัดมาตรฐานความปลอดภัย มีโครงสร้างองค์กรที่รับผิดชอบในเรื่อง ICT Security แห่งชาติ ในการผลักดันให้เป็นไปตามแผน
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะเราจะพบว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาท และทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวี ความรุนแรง เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยขอสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้เป็นด้าน ๆ ดังนี้
1. ความผิดสำหรับแฮคเกอร์ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สรุปได้ดังนี้ 1.1 ผู้ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่สร้างระบบป้องกันไว้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า 1.2 ผู้ที่เผยรหัส (password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
1.3 ผู้ที่ดักจับข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเทอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
2. ความผิดสำหรับผู้ปล่อยไวรัสหรือหนอนคอมพิวเตอร์
2.1 ผู้ที่ทำลายข้อมูลหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของผู้อื่นไม่ว่าด้วยวิธีการใด จะใช้ไวรัสหรือแอบเข้าไปทำลาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.2 การทำลายข้อมูลผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร โทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ถ้ากระทบถึงความมั่นคงประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3 – 15 ปี ถ้าจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10 – 20 ปี
3. ความผิดของผู้ที่ก่อกวนหรือแกล้งผู้อื่น
3.1 ผู้ที่ส่งเมล์ก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภท pop up หรือผู้ที่ส่งเมล์ขยะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ 3.2 ผู้ที่ส่งเมล์เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นข่าวลือ ปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเท่ากันคือ จำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.3 ผู้ที่ตัดต่อภาพของผู้อื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย อับอาย ต้องโทษจำคุกไม่กิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท
4. ความผิดของผู้ให้บริการผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรวมรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้นผู้ให้บริการจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะกระทำในรอกราชอาณาจักร ไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างด้าว ถ้าเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ต้องยอมรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย
เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่ดีมีประโยชน์ เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับอารยประเทศทั้งหลาย ช่วยป้องปรามให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์น้อยลง และช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็วขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ควรออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น และควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นการย้ำเตือนให้ผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต เพิ่มความระมัดระวังเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมจริยธรรม ช่วยกันแจ้งเบาะแสเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้คนชั่ว มีโอกาสทำอะไรที่ขัดต่อศีลธรรมจรรยาที่ควรจะเป็น
1. ฝ่ายบริหารวิชาการ ได้แก่ งานด้านทะเบียน วัดผล การเทียบโอนหน่วยกิต และการบริหารหลักสูตร เป็นต้น
2. ฝ่ายบริหารงบประมาณ ได้แก่ งานด้านทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการศึกษา เช่น การเงิน พัสดุ ภาษี
3. ฝ่ายบริหารบุคคล ได้แก่ การรวบรวมประวัติครู นักการภารโรง เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน เป็นต้น
4. ฝ่ายบริหารทั่วไป ได้แก่ งานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนความเป็นอยู่ของบุคลากรในโรงเรียน เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง เครื่องอุปโภค บริโภค เป็นต้น
ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นล้วนปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องอาศัยข้อมูลจากระบบสารสนเทศ ในการวางแผน จัดการ กำกับติดตาม และประเมินผล ตลอดจนการเชื่อมต่อข้อมูลซึ่งกันและกันเพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ถึงแม้จะมีประโยชน์หลายประการดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันยังช่วยประหยัดกระดาษและหมึกพิมพ์ในการทำเอกสาร แต่ผลเสียก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน เป็นต้นว่า ถ้าในกรณีไฟฟ้าดับ การเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ได้ หรือเครื่องตัวแม่(Saver) ถูกเจาะข้อมูลลับหรือจำเป็นบางอย่างเกิดการสูญเสีย ไวรัสเข้าทำให้การทำงานล่าช้า ข้อมูลถูกทำลาย ก็จะทำให้งานง่าย ๆ กลายเป็นงานยากไปเลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศควรมีความรอบคอบ หมั่นตรวจสอบและต้องไม่ประมาท ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลอาจเกิดการผิดพลาดเนื่องจากการใส่ข้อมูล หรือการสั่งการผิดก็จะผิดพลาดทั้งระบบ เพราะฉะนั้นไม่ควรจะเชื่อคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ควรตรวจสอบเองบ้างจะแก้ปัญหาได้ดีที่สุด
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ เห็นด้วยกับแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2554) ของรัฐบาลไทย เพราะจากการวิเคราะห์แผนแม่บทฉบับนี้จะพบว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกิจการต่าง ๆ มีผลกระทบเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น การโจรกรรมข้อมูล การดัดแปลงหรือปลอมแปลงข้อมูล การแพร่หนอนและไวรัสคอมพิวเตอร์ การบุกรุกและโจมตีระบบเครือข่าย ซึ่งสร้างความความเสียหายมูลค่ามหาศาลเนื่องจากความสำคัญของข้อมูล มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของบุคคล/องค์กร/ประเทศ
ปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการลดความเสี่ยงต่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้แก่ การมีนโยบาย การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนผู้ใช้งานระบบและเครือข่ายทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดขอบเขตหรือข้อกำหนดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายให้กับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ดังนั้นกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในฐานะที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐที่รับผิดชอบทางด้านนโยบายและแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ จึงควรมีการจัดทำนโยบาย แผนแม่บทการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย (ICT Security) สำหรับประเทศไทย เพื่อเป็นกรอบ แนวทางให้องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนผู้ใช้ระบบทั่วไป นำไปบังคับใช้ เพื่อให้ข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของประเทศมีความมั่นคงและปลอดภัยโดยรวม วัตถุประสงค์ ในการจัดทำแผนแม่บท เพื่อสำรวจแนวทางการจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีแห่งชาติ National ICT Security Plan Best Practices จากประเทศในต่างประเทศชั้นนำ เพื่อสำรวจและวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบันของประเทศไทยด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อกำหนดกรอบนโยบาย แนวทางดำเนินการ และมาตรการเพื่อการบริหารจัดการ ICT Security ของประเทศ และ เพื่อจัดทำแนวทางบริหารจัดการดำเนินการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีของประเทศ เพื่อก่อให้เกิดมีแผนแม่บท ICT Security แห่งชาติ เพื่อให้ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัย ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและสังคมมีความปลอดภัยตามมาตรฐานที่ได้กำหนด และอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายต้องมีการจัดมาตรฐานความปลอดภัย มีโครงสร้างองค์กรที่รับผิดชอบในเรื่อง ICT Security แห่งชาติ ในการผลักดันให้เป็นไปตามแผน
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะเราจะพบว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาท และทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวี ความรุนแรง เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยขอสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้เป็นด้าน ๆ ดังนี้
1. ความผิดสำหรับแฮคเกอร์ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สรุปได้ดังนี้ 1.1 ผู้ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่สร้างระบบป้องกันไว้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า 1.2 ผู้ที่เผยรหัส (password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
1.3 ผู้ที่ดักจับข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเทอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
2. ความผิดสำหรับผู้ปล่อยไวรัสหรือหนอนคอมพิวเตอร์
2.1 ผู้ที่ทำลายข้อมูลหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของผู้อื่นไม่ว่าด้วยวิธีการใด จะใช้ไวรัสหรือแอบเข้าไปทำลาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.2 การทำลายข้อมูลผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร โทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ถ้ากระทบถึงความมั่นคงประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3 – 15 ปี ถ้าจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10 – 20 ปี
3. ความผิดของผู้ที่ก่อกวนหรือแกล้งผู้อื่น
3.1 ผู้ที่ส่งเมล์ก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภท pop up หรือผู้ที่ส่งเมล์ขยะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ 3.2 ผู้ที่ส่งเมล์เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นข่าวลือ ปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเท่ากันคือ จำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.3 ผู้ที่ตัดต่อภาพของผู้อื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย อับอาย ต้องโทษจำคุกไม่กิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท
4. ความผิดของผู้ให้บริการผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรวมรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้นผู้ให้บริการจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะกระทำในรอกราชอาณาจักร ไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างด้าว ถ้าเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ต้องยอมรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย
เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่ดีมีประโยชน์ เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับอารยประเทศทั้งหลาย ช่วยป้องปรามให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์น้อยลง และช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็วขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ควรออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น และควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นการย้ำเตือนให้ผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต เพิ่มความระมัดระวังเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมจริยธรรม ช่วยกันแจ้งเบาะแสเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้คนชั่ว มีโอกาสทำอะไรที่ขัดต่อศีลธรรมจรรยาที่ควรจะเป็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น