จากกรอบความคิดดังกล่าวจะเห็นว่าระบบสารสนเทศของโรงเรียนจะเป็นส่วนสำคัญในการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมาก ปัจจุบันโรงเรียนมีบุคลากรทั้งสิ้น 2,000 คนเศษ แต่มีเจ้าหน้าที่ทำงานสารสนเทศประมาณ 5 คน ที่ทำหน้าที่กรอกข้อมูล และจัดระบบสารสนเทศ ตรวจสอบติดตามและรายงานผลแก่ผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูล ร่วมกับการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการบริหารจัดการ รวมทั้งระบบบริหารทั้ง 4 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายบริหารวิชาการ ได้แก่ งานด้านทะเบียน วัดผล การเทียบโอนหน่วยกิต และการบริหารหลักสูตร เป็นต้น
2. ฝ่ายบริหารงบประมาณ ได้แก่ งานด้านทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการศึกษา เช่น การเงิน พัสดุ ภาษี
3. ฝ่ายบริหารบุคคล ได้แก่ การรวบรวมประวัติครู นักการภารโรง เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน เป็นต้น
4. ฝ่ายบริหารทั่วไป ได้แก่ งานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนความเป็นอยู่ของบุคลากรในโรงเรียน เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง เครื่องอุปโภค บริโภค เป็นต้น
ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นล้วนปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องอาศัยข้อมูลจากระบบสารสนเทศ ในการวางแผน จัดการ กำกับติดตาม และประเมินผล ตลอดจนการเชื่อมต่อข้อมูลซึ่งกันและกันเพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ถึงแม้จะมีประโยชน์หลายประการดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันยังช่วยประหยัดกระดาษและหมึกพิมพ์ในการทำเอกสาร แต่ผลเสียก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน เป็นต้นว่า ถ้าในกรณีไฟฟ้าดับ การเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ได้ หรือเครื่องตัวแม่(Saver) ถูกเจาะข้อมูลลับหรือจำเป็นบางอย่างเกิดการสูญเสีย ไวรัสเข้าทำให้การทำงานล่าช้า ข้อมูลถูกทำลาย ก็จะทำให้งานง่าย ๆ กลายเป็นงานยากไปเลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศควรมีความรอบคอบ หมั่นตรวจสอบและต้องไม่ประมาท ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลอาจเกิดการผิดพลาดเนื่องจากการใส่ข้อมูล หรือการสั่งการผิดก็จะผิดพลาดทั้งระบบ เพราะฉะนั้นไม่ควรจะเชื่อคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ควรตรวจสอบเองบ้างจะแก้ปัญหาได้ดีที่สุด
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ เห็นด้วยกับแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2554) ของรัฐบาลไทย เพราะจากการวิเคราะห์แผนแม่บทฉบับนี้จะพบว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกิจการต่าง ๆ มีผลกระทบเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น การโจรกรรมข้อมูล การดัดแปลงหรือปลอมแปลงข้อมูล การแพร่หนอนและไวรัสคอมพิวเตอร์ การบุกรุกและโจมตีระบบเครือข่าย ซึ่งสร้างความความเสียหายมูลค่ามหาศาลเนื่องจากความสำคัญของข้อมูล มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของบุคคล/องค์กร/ประเทศ
ปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการลดความเสี่ยงต่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้แก่ การมีนโยบาย การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนผู้ใช้งานระบบและเครือข่ายทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดขอบเขตหรือข้อกำหนดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายให้กับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ดังนั้นกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในฐานะที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐที่รับผิดชอบทางด้านนโยบายและแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ จึงควรมีการจัดทำนโยบาย แผนแม่บทการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย (ICT Security) สำหรับประเทศไทย เพื่อเป็นกรอบ แนวทางให้องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนผู้ใช้ระบบทั่วไป นำไปบังคับใช้ เพื่อให้ข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของประเทศมีความมั่นคงและปลอดภัยโดยรวม วัตถุประสงค์ ในการจัดทำแผนแม่บท เพื่อสำรวจแนวทางการจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีแห่งชาติ National ICT Security Plan Best Practices จากประเทศในต่างประเทศชั้นนำ เพื่อสำรวจและวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบันของประเทศไทยด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อกำหนดกรอบนโยบาย แนวทางดำเนินการ และมาตรการเพื่อการบริหารจัดการ ICT Security ของประเทศ และ เพื่อจัดทำแนวทางบริหารจัดการดำเนินการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีของประเทศ เพื่อก่อให้เกิดมีแผนแม่บท ICT Security แห่งชาติ เพื่อให้ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัย ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและสังคมมีความปลอดภัยตามมาตรฐานที่ได้กำหนด และอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายต้องมีการจัดมาตรฐานความปลอดภัย มีโครงสร้างองค์กรที่รับผิดชอบในเรื่อง ICT Security แห่งชาติ ในการผลักดันให้เป็นไปตามแผน
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะเราจะพบว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาท และทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวี ความรุนแรง เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยขอสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้เป็นด้าน ๆ ดังนี้
1. ความผิดสำหรับแฮคเกอร์ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สรุปได้ดังนี้ 1.1 ผู้ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่สร้างระบบป้องกันไว้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า 1.2 ผู้ที่เผยรหัส (password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
1.3 ผู้ที่ดักจับข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเทอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
2. ความผิดสำหรับผู้ปล่อยไวรัสหรือหนอนคอมพิวเตอร์
2.1 ผู้ที่ทำลายข้อมูลหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของผู้อื่นไม่ว่าด้วยวิธีการใด จะใช้ไวรัสหรือแอบเข้าไปทำลาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.2 การทำลายข้อมูลผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร โทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ถ้ากระทบถึงความมั่นคงประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3 – 15 ปี ถ้าจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10 – 20 ปี
3. ความผิดของผู้ที่ก่อกวนหรือแกล้งผู้อื่น
3.1 ผู้ที่ส่งเมล์ก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภท pop up หรือผู้ที่ส่งเมล์ขยะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ 3.2 ผู้ที่ส่งเมล์เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นข่าวลือ ปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเท่ากันคือ จำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.3 ผู้ที่ตัดต่อภาพของผู้อื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย อับอาย ต้องโทษจำคุกไม่กิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท
4. ความผิดของผู้ให้บริการผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรวมรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้นผู้ให้บริการจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะกระทำในรอกราชอาณาจักร ไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างด้าว ถ้าเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ต้องยอมรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย
เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่ดีมีประโยชน์ เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับอารยประเทศทั้งหลาย ช่วยป้องปรามให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์น้อยลง และช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็วขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ควรออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น และควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นการย้ำเตือนให้ผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต เพิ่มความระมัดระวังเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมจริยธรรม ช่วยกันแจ้งเบาะแสเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้คนชั่ว มีโอกาสทำอะไรที่ขัดต่อศีลธรรมจรรยาที่ควรจะเป็น